7 อาชีพยอดฮิต ที่สุดในอาเซียน กลุ่ม aec
อัพเดทอาชีพเสรีอาเซียน 8 อาชีพ
1. แพทย์ ในอาเซียน

2558 ประตูแห่งโอกาสอย่าง อาเซียน จะเปิดกว้างให้ 10 ประเทศได้มีโอกาสค้าขายกันอย่างเสรี ถือเป็นโอกาสอันดีของภาคบริการด้านการแพทย์ไทย ใน aec ประชาคนอาเซียน
ข้อมูลจากสมาคมโรงพยาบาลเอกชนระบุว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยชาวต่างชาติเข้ามาทำการรักษาที่เมืองไทยไม่น้อยกว่าปีละ 1 ล้านคน ซึ่งมีทั้งชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ที่ประเทศไทย และเป็นเดินทางมาจากต่างประเทศโดยตรง ส่วนเมื่อเขตการค้าเสรีอาเซียนเกิดขึ้นนั้น ในแง่ของวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขนั้นอาจจะเกิดการเคลื่อนย้ายบุคลากรด้านการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์หรือพยาบาล เพราะปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ยังถือเป็นปัญหาที่สำคัญของไทย ลำพังจะบุคลากรที่จะให้บริการคนในประเทศก็ยังไม่พอ หากต้องรองรับการให้บริการผู้ป่วยจากต่างประเทศอีกเราจะพร้อมหรือไม่?
การเตรียมความพร้อมของสภาการพยาบาลจึงต้องสร้างความเข้าใจกับสมาชิกประเทศอาเซียนว่า มีสิทธิเคลื่อนย้ายบุคลากรทางการแพทย์อย่างถูกกฎหมาย มีการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนในการจ้างงานในกลุ่มประเทศอาเซียน วางแผนการผลิตและรักษาสมดุลทางด้านสังคม พัฒนาข้อมูลสารสนเทศและติดตามการเคลื่อนย้ายเข้า-ออกของบุคลากร และรักษาจุดเด่นของการรักษาพยาบาลแบบคนไทยนั้น ที่นอกจากการรักษาที่ได้มาตรฐานแล้ว เรายังนับถือและดูแลผู้ป่วยดุจญาติมิตร และยังต้องเรียนรู้เรื่องของวัฒนธรรมที่แตกต่าง ตลอดจนอุปสรรคทางด้านภาษา และเชื่อว่าทุกประเทศมีสามารถคว้าโอกาสบนเวทีอาเซียนได้หากมีการเตรียมพร้อมที่ดี ^^
2. พยาบาล

พยาบาลวิชาชีพ หมายถึง บุคคลธรรมดาที่ผ่านการทดสอบเพื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลและได้รับการประเมินโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพพยาบาลของประเทศแหล่งกำเนิด (Country of Origin) ว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติทางด้านเทคนิค จริยธรรม และกฎหมาย ที่จะประกอบวิชาชีพพยาบาล และขึ้นทะเบียนและ/หรือได้รับใบอนุญาตสาหรับการประกอบวิชาชีพดังกล่าวจากหน่วยงานผู้มีอำนาจกากับดูแลด้านวิชาชีพพยาบาลของประเทศแหล่งกำเนิด (Country of Origin) นั้น ทั้งนี้ คาดว่าพยาบาลวิชาชีพไม่รวมถึงพยาบาลเทคนิค
พยาบาลวิชาชีพต่างชาติ หมายถึงพยาบาลวิชาชีพที่มีสัญชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนและ ได้ขึ้นทะเบียนและ/หรือได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศแหล่งกำเนิด และมาสมัครขอขึ้นทะเบียน และ/หรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับ โดยต้องเป็นไปตามกฎระเบียบในประเทศผู้รับ
คุณสมบัติของพยาบาลวิชาชีพ หมายถึง คุณสมบัติการเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับจากสถาบันฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพซึ่งสถาบันดังกล่าวได้รับการยอมรับโดยหน่วยงานที่กากับดูแลวิชาชีพพยาบาล และ/หรือ หน่วยงานใดที่เหมาะสมในประเทศแหล่งกำเนิด
ได้รับใบรับรองจากผู้มีอำนาจกากับดูแลด้านวิชาชีพพยาบาล (NRA) ของประเทศแหล่งกำเนิดว่าไม่มีประวัติการกระทำผิดอย่างร้ายแรงด้าน เทคนิค มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ ระดับท้องถิ่นและระหว่างประเทศ ในการประกอบวิชาชีพพยาบาล และ มีคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ตามที่กำหนด เช่น ต้องแสดงผลตรวจร่างกายหรือผ่านการทดสอบสมรรถภาพ หรือข้อกำหนดอื่นใดตามที่หน่วยงานกากับดูแลวิชาชีพพยาบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานของรัฐในประเทศผู้รับเห็นสมควรในการกำหนดคุณสมบัติของการขอขึ้นทะเบียน และ/หรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล
สิทธิและหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ
สิทธิของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย และข้อบังคับภายในประเทศของแต่ละประเทศ พยาบาลวิชาชีพต่างชาติซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุใน ข้อ 3.1 มีสิทธิในการเข้าไปประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับได้
หน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ ต้องปฏิบัติสอดคล้องตาม:
หลักประพฤติปฏิบัติทางวิชาชีพของท้องถิ่น สอดคล้องกับนโยบายด้านจรรยาบรรณและความประพฤติที่มีและใช้บังคับโดยประเทศผู้รับ
กฎระเบียบ ข้อบังคับภายในประเทศของประเทศผู้รับรวมทั้ง กฎระเบียบข้อบังคับอื่นใดที่ใช้กากับดูแลการประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับ
ข้อกำหนดใด ๆ สาหรับโครงการประกันความเสียหายในประเทศผู้รับ
วัฒนธรรมและประเพณีนิยมในประเทศผู้รับ
MRA: สภาการพยาบาลกับพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ
หน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล (NRA) หมายถึงหน่วยงานที่ได้รับอำนาจจากรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิก ให้มีหน้าที่กากับดูแลการประกอบวิชาชีพพยาบาล
การประกอบวิชาชีพพยาบาล หมายถึง การให้บริการดูแลพยาบาลโดยพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย การส่งเสริม การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูรวมทั้งการศึกษา การวิจัย
สถาบันฝึกอบรมที่ได้รับการยอมรับ หมายถึง มหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่ให้การฝึกอบรมด้านการประกอบวิชาชีพพยาบาลที่ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกากับดูแลวิชาชีพพยาบาล และ/หรือหน่วยงานอื่นที่เหมาะสม(เช่นกระทรวงสาธารณสุข)ในประเทศแหล่งกำเนิด
MRA: สภาการพยาบาล
สภาการพยาบาล: หน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาลของประเทศผู้รับจะมีความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
ประเมินคุณสมบัติและประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ
ขึ้นทะเบียน และ/หรือออกใบอนุญาตให้พยาบาลวิชาชีพต่างชาติในการเข้ามาการประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับ
ติดตามตรวจสอบและประเมินการประกอบวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติที่ได้จดทะเบียน และ/หรือได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล
ตรวจสอบติดตาม เพื่อให้แน่ใจว่าพยาบาลต่างชาติจะรักษามาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพพยาบาลที่สอดคล้องกับหลักประพฤติปฏิบัติด้านวิชาชีพของประเทศผู้รับ
คณะกรรมการประสานงานด้านพยาบาลวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Joint Coordinating Committee on Nursing: AJCCN)
คณะกรรมการประสานงานด้านพยาบาลวิชาชีพอาเซียนต้องเป็นผู้วางกลยุทธ์ในการดำเนินตามมติของตนเอง เช่น
อำนวยความสะดวกในดำเนินการตามข้อตกลง ฯ
สร้างความเข้าในร่วมกันทั้งด้านนโยบาย กระบวนการและการปฏิบัติในการพัฒนาและส่งเสริมกลยุทธ์ในการดาเนินการตามข้อตกลงฯ
ร่วมกันคิดค้นกระบวนการเพื่อนาไปสู่การสร้างมาตรฐานและหลักเกณฑ์การยอมรับร่วมกันสำหรับการดำเนินการตามข้อตกลงฯ
เป็นต้น
ความก้าวหน้าในการดำเนินการของคณะกรรมการประสานงานด้านพยาบาลวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Joint Coordinating Committee on Nursing: AJCCN)
ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ คืบหน้าช้า ประชุมแล้วกว่า 11 ครั้ง
ปรับเปลี่ยนวิธีการ MRA Roadmap
ตกลงกันได้ในเรื่อง กำหนดองค์ประกอบของ สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอาเซียน
ประเทศสมาชิกกำลังดำเนินการให้มี กฎหมายและสภาการพยาบาลขึ้น
กำลังสรุปเรื่องข้อมูลจำเป็นที่ต้องเผยแพร่ใน Website สำหรับพยาบาลต่างชาติที่สนใจให้บริการในต่างประเทศ ศึกษาและเตรียมตัว มีปัญหาในการสนับสนุนจากรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อให้มีการดำเนินการตาม MRA
ความก้าวหน้าในการดำเนินการ
คณะกรรมการประสานงานด้านพยาบาลวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Joint Coordinating Committee on Nursing: AJCCN) และของสาขาสุขภาพ จะมีการประชุมกันครั้งสุดท้ายของปี 2555 ในเดือน กันยายน นี้
สภาการพยาบาลต้องดำเนินการ: ต้องมีการเตรียม Roadmap
ต้องจัดทำ Website ASEAN Nursing
ต้องเตรียมหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่มีขีดความสามารถทางานตามหน้าที่ที่ระบุใน MRA และอื่นๆ
แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
คณะกรรมการเครือข่ายนานาชาติ สภาการพยาบาล
ศึกษาวิเคราะห์และกำหนด (ร่าง) แนวทางแนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสภาการพยาบาล
ร่าง แนวทางฯ เป็นแนวทางเตรียมความพร้อมขององค์กรพยาบาลเพื่อโอกาสของแต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้อง
3. บัญชี
การพัฒนาศักยภาพวิชาชีพบัญชีไทยเมื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ
หากท่านเป็นนักบัญชีที่มีความสนใจเดินทางไปทำงานในประเทศใดประเทศหนึ่งในอาเซียนภายหลังการเปิดเสรีอย่างเป็นทางการแล้ว แนวปฏิบัติต่างๆเหล่านี้จะเป็นเสมือนคู่มือและเครื่องมือที่จะให้ช่วยให้ผู้ที่ติดตามอย่างต่อเนื่องมีความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบแนวทางต่างๆ ตลอดจนวิธีการในการดำเนินการไปทำงานอย่างถูกต้อง และสามารถช่วยในการวางแผนการล่วงหน้าได้อย่างเป็นระบบ ส่วนท่านที่ยังไม่ได้มีความสนใจที่จะไปทำงานในประเทศเพื่อบ้านเพื่อนสมาชิกอาเซียนนั้น การที่อาจจะมีผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจากประเทศอื่นๆเข้ามาทำงานในประเทศไทย ในแวดวงธุรกิจ หรือแม้แต่ในกิจการที่ท่านทำงานอยู่ ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่แปลกใหม่ที่จะอาจก่อเกิดความเปลี่ยนแปลงออกไปจากการทำงานในแบบเดิมอย่างมีนัยะสำคัญพอสำหรับการที่จะศึกษาแนวโน้มทิศทางหรือรูปแบบความเปลี่ยนแปลงนั้นๆไม่น้อยทีเดียว
4. สถาปนิก
กลยุทธ์สำคัญสู่ความเป็น “สถาปนิกอาเซียน”
การเตรียมความพร้อมของวิชาชีพสถาปนิกเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตามข้อตกลงใน MRA มีดังต่อไปนี้
1. จัดทำกรอบการทำงานร่วมกันของสถาปนิกไทยกับสถาปนิกอาเซียน (Local Collaboration Framework) ภายใต้ข้อตกลงของสภาสถาปนิกอาเซียน (ASEAN Architect Council) ว่าด้วยการทำงานร่วมกันอย่างเท่าเทียม (Reciprocal Framework) ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงร่วมกันภายใต้กรอบใหญ่ของ UIA (องค์กรใหญ่สุดของวิชาชีพสถาปัตยกรรม ที่ Unesco ให้การสนับสนุน) ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “การปฏิบัติงานในประเทศอื่นต้องมีการร่วมมือกับเจ้าของประเทศนั้น”
2. ดำเนินการจัดให้มีระบบการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า CPD (Continuing Professional Development) โดยความสมัครใจ สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็น “สถาปนิกอาเซียน” (AA - ASEAN Architect)
3. แก้ไขกฎกระทรวงเพื่อให้เกิดการจ้างงานของคนต่างด้าวตามพระราชกฤษฏีกา เพื่อให้สถาปนิกต่างชาติสามารถเข้ามาทำงานในเมืองไทยได้ภายใต้เงื่อนไขของ MRA
สร้างแบรนด์ “สถาปนิกไทย” ให้ก้าวไกลใน AEC ผศ.ดร.นฤพนธ์ เคยกล่าวไว้ว่า “ในวันนี้การเป็นสถาปนิกไม่ใช่แค่ต้องรอให้ได้โจทย์มาหรือต้องรอแบบอีกต่อไป แต่ต้องช่วยลูกค้าคิดและวิเคราะห์ด้วยว่า ถ้ามีที่ดินอยู่จะลงมือทำอะไรกับมันดี เช่น จะสร้างเป็นคอนโดฯ หรือ คอมมูนิตี้ มอลล์”
เพราะขณะที่จุดแข็งของสถาปนิกสิงคโปร์ คือ การสร้างแบรนด์ดิ้งที่มีความเฉพาะตัว เช่น ความถนัดเรื่องการออกแบบบิวตี้แอนด์เฮลท์คลินิก, ลักษณะการทำงานที่คิดงานแบบครีเอทีฟ, ความถนัดในการใช้เกมรุกช่วยลูกค้าแก้ไขปัญหา, ความพร้อมในการนำเสนอทางเลือกต่างๆ ที่มากกว่าขอบเขตของงานสถาปนิก ฯลฯ สิงคโปร์ได้นำทักษะเหล่านี้มาประยุกต์เป็นจุดขายของเขา ขณะที่สถาปนิกไทยมักจะมองว่า นั่นไม่ใช่ขอบเขตหน้าที่ของตน ส่วนในอีกมุมหนึ่งจุดแข็งของสถาปนิกฟิลิปปินส์ก็คือเรื่องของค่าแรงที่ถูกกว่า
อีกสามปีข้างหน้าในวันที่ AEC เปิดตัวขึ้น ประเทศไทยจะกลายเป็นเวทีเศรษฐกิจสำคัญที่ต่างชาติให้ความสนใจมาลงทุน ดังนั้น คนไทยเองจะต้องให้ความสนใจกับการสร้างแบรนดิ้งด้วย “ภาพลักษณ์ของสถาปนิกไทยในสายตาคนข้างนอก คือ เรื่องของการออกแบบรีสอร์ท ที่พักอาศัย และสถานที่ให้บริการต่างๆ (Residential & Hospitality) ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นจุดแข็งที่เราควรนำไปพัฒนาสร้างเป็นแบรนด์ดิ้งให้ ‘Thai Architect’ อันนี้หมายถึงแบรนด์ดิ้งในระดับองค์รวมทั้งประเทศนะ ไม่ใช่แบบตัวใครตัวมันอย่างที่เราทำกันอยู่ ผมมองว่าการเปิด AEC ในปี 2015 จะเป็นโอกาสดีที่วงการสถาปนิกไทยจะได้สร้างชื่อร่วมกัน”วงการสถาปนิกไทยจะได้สร้างชื่อร่วมกัน
5. วิศวกร

6. ช่างสำรวจ

เป็นอาชีพเกี่ยวกับการสำรวจในด้านต่างๆ เช่น การสำรวจด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ ทั้งบนบก และในน้ำ และยังรวมไปถึงการสำรวจสิ่งที่อยู่นอกโลกด้วย ในเรื่องของรายได้ คาดว่าน่าจะเป็นต่อชิ้นงาน หรือโปรเจกท์ที่ทำการสำรวจมากกว่าที่จะคิดเป็นเดือน และอาจมีค่าสวัสดิการระหว่างทำการสำรวจด้วยก็ได้ เดิมทีอาชีพนี้ก็มีค่าตอบแทนสูงอยู่แล้ว ยิ่งเปิดอาเซียนค่าตอบแทนก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก
7. ทันตแพทย์
ทันตแพทย์
โดยอาชีพทั้ง 7 นี้ถือว่าเป็นอาชีพยอดฮิต ซึ่งผู้ทำอาชีพดังกล่าวควรจะตระหนักให้ดีว่า ควรมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ทางอาเซียนได้เพิ่มอาชีพที่ 8 เข้าไปแล้ว นั่นคือ "บุคลากรวิชาชีพทางการท่องเที่ยวและการบริการ" เนื่องจากเห็นว่า เป็นอาชีพที่สำคัญ สามารถดึงรายได้เข้าสู่ประเทศได้อย่างมหาศาล
อัพเดทอาชีพเสรีอาเซียน 8 อาชีพ
เรียบเรียงโดย editor bow
ข้อมูลอ้างอิง กระปุก ,การพยาบาลไทย youtube

-
พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงข้อห่วงใยเกี่ยวกับอัตราการว่างงานที่มีการกล่าวอ้างถึงการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล ว่ารัฐบาลนี้กำลังทำงานภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว...by dogTech
-
ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีหน้า พ.ศ.2558 ราชบัณฑิตยสถาน เป็นหน่วยงานสำคัญหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้และให้บริการทางวิชาการแก่ภาครัฐ ภาคเอกชน...by Editor
-
สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ สถานทูตจากประเทศสมาชิกอาเซียน สมาคมอาเซียน-ประเทศไทย ได้แถลงข่าวเปิดตัวนิทรรศการ พิพิธอาเซียน...A Journey...by Editor
-
รมว.แรงงาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการทำงานของศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ที่ศูนย์การค้าไอที สแควร์แจ้งวัฒนะ หลักสี่ ย้ำภายใน 120 วัน นายจ้างต้องนำลูกจ้างดำเนินการจดทะเบียนให้ถูกต้อง...by dogTech