ลบ
แก้ไข
คงไม่มีใครปฏิเสธถึงความสำคัญของ "การอ่าน" เพราะไม่ว่าโลกจะหมุนเร็วมากแค่ไหน วิทยาการล้ำหน้าเพียงใด การอ่านก็ยังคงความสำคัญในฐานะของปัจจัยสำคัญที่ช่วยพัฒนาความคิด ความรู้ รวมถึงให้ความสุขความบันเทิง
เมียนมาร์ ประเทศเพื่อนบ้านของไทยเองก็เห็นความสำคัญของการอ่านไม่แพ้ใคร ความพยายามที่จะปลูกฝังการอ่านให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นอนาคตของประเทศอย่างเด็กและเยาวชนจึงเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และปัจจุบันก็เริ่มเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
โดยหลังจากเปิดประเทศมากขึ้น เมียนมาร์ก็มีโครงการต่างๆ ที่สนับสนุนการอ่านขึ้นมาไม่น้อย งาน อิระวดี บุ๊คแฟร์ ที่เพิ่งผ่านไปก็ได้รับการกล่าวขวัญถึงในระดับนานาชาติ ถึงแม้ว่าเสรีภาพทางการพิมพ์หรือการเซ็นเซอร์ทางการเขียนจะยังคงปรากฏอยู่ก็ตาม
และ "ห้องสมุด" ก็เป็น "อนาคตทางการอ่าน" ที่ถูกวางไว้เป็นนโยบายสำคัญและกำลังกระทำอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของเอกชน
"ยี เท็ต อู" นักวิชาการชาวเมียนมาร์เผยในการประชุม Thailand Conference on Reading 2013 ว่าห้องสมุดขนาดเล็กที่ดำเนินการโดยเอกชนจะเป็นโมเดลสำคัญที่จะทำให้การอ่านของพม่าฟื้นคืนมาอีกครั้ง
"การอ่านเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ชาวเมียนมาร์ชื่นชอบตั้งแต่ยุคการปกครองแบบราชาธิปไตย แม้กระทั่งในยุคอาณานิคมก็มีการจัดตั้งหอสมุด ซึ่งยุคนั้นเป็นที่ที่คนมาสนทนาเกี่ยวกับข่าวสารและแลกเปลี่ยนความเห็นต่างๆ แต่ในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพยายามไม่ให้มีที่สาธารณะที่คนจะมาพูดคุยกันเพื่อป้องกันการจลาจลทางการเมือง ห้องสมุดก็ไม่ได้รับการยกเว้น รัฐบาลต่อๆ มาก็ไม่สนใจห้องสมุด อย่างหอสมุดแห่งชาติก็ย้ายไปเรื่อยๆ คนก็ไม่รู้ว่าตอนนี้อยู่ที่ไหนมีบริการอะไรบ้าง
"ตอนนี้ตามสถิติเมียนมาร์มีห้องสมุดสาธารณะกว่า 50,000 แห่ง แต่มีไม่กี่แห่งที่ใช้งานได้จริงๆ และห้องสมุดส่วนใหญ่ก็ยืมหนังสือออกไปไม่ได้ด้วย หนังสือเองก็อยู่ในกล่อง เหตุผลสำคัญคือผู้ดำเนินการขาดความเข้าใจหรือความชำนาญการในการจัดแหล่งข้อมูลของประชาชนในท้องถิ่น บรรณารักษ์เองก็ไม่ได้รับการอบรมเรื่องห้องสมุดมากพอ ห้องสมุดส่วนใหญ่ลดการซื้อหนังสือเพราะขาดเงินทุน ซึ่งหนังสือพม่าค่อนข้างแพงคือประมาณ 5 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่หนังสือภาษาอังกฤษราคา 6 เหรียญสหรัฐ เมื่อประกอบกับกังวลว่าหนังสือจะพังหรือหาย เด็กๆ เลยไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ห้องสมุดมากนัก เด็กๆ ระดับรากหญ้าเลยขาดโอกาสที่จะเรียนรู้นอกห้องเรียน
อย่างไรก็ตาม นอกจากห้องสมุดของรัฐบาลแล้ว ยังมีห้องสมุดเอกชนที่ดำเนินการโดยสถานทูตซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่ดี แต่ไม่ได้เปิดให้ทุกคน ต้องจ่ายค่าสมาชิกซึ่งค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจของเมียนมาร์ อย่างบริติชเคาน์ซิลเรียกเก็บ 25,000 จ๊าด หรือ 35 เหรียญสหรัฐต่อปี ส่วนสมาชิกห้องสมุดอเมริกันก็ต้องจบมัธยมปลายถึงจะใช้บริการได้
ประชาชนเมียนมาร์โดยเฉพาะเยาวชนจึงมีโอกาสน้อยในการเข้าถึงห้องสมุดสาธารณะ ส่วนร้านเช่าหนังสือก็มีราคาแพง และมักมีแต่การ์ตูน นิยาย นิตยสารรายสัปดาห์ไว้บริการ หนังสือดีๆ หายาก เวลาเลยถูกใช้ไปอย่างเปล่าประโยชน์
ปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบมากต่อสังคม ข้อจำกัดมากมายทำให้ประชาชนหยุดไปห้องสมุด หนังสือที่แพงก็ทำให้หยุดซื้อ เมื่อไม่อ่านหนังสือ การพัฒนาสังคมก็มีปัญหาตามมาและทรัพยากรมนุษย์ก็จะสูญเปล่าเช่นกัน การขาดความรู้จะนำไปสู่ความตกต่ำด้านศีลธรรมจรรยาและการคอร์รัปชั่น" ยี เท็ต อู เปิดเผย
ห้องสมุดขนาดเล็ก และห้องสมุดเคลื่อนที่จึงเป็นกลยุทธ์ที่ภาคเอกชนวางไว้สำหรับอนาคตของเมียนมาร์
"ห้องสมุดขนาดเล็กและห้องสมุดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากเอกชนและการทำงานแบบอาสาสมัคร ที่ตั้งห้องสมุดเป็นเรื่องสำคัญมากในเมียนมาร์เพราะการคมนาคมยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือห้องสมุดธาราพาร์ ซึ่งประสบความสำเร็จจากการนำจุดอ่อนของห้องสมุดรูปแบบอื่นๆ มาวิเคราะห์ เลือกเปิดในที่ที่เยาวชนชอบไป ค่าสมาชิกราคาถูก หนังสือได้รับจากการบริจาคจากศูนย์อเมริกัน มูลนิธิเอเชีย และมูลนิธิอนุรักษ์หนังสือเมียนมาร์ และกลายเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในโมเดลของห้องสมุดขนาดเล็กที่กำลังขยายตัว"
ส่วนระบบห้องสมุดเคลื่อนที่ซึ่งอิงกับผู้นำทางศาสนานั้น ก็เป็นโมเดลที่ยี เท็ต อู มองว่าเหมาะกับเมียนมาร์อย่างยิ่ง
"ปัญหาสำคัญคือเงินทุนที่จำกัด เราไม่มีทุนซื้อหนังสือมากนัก ในขณะที่ทะเบียนราษฎรของเมียนมาร์ก็ยังไม่เป็นระบบ ถ้าเกิดการยืมจะตามตัวยาก เราจึงใช้วิธีโยงกับศาสนาเพราะประชากรส่วนใหญ่เคร่งครัดในศาสนามาก คนในท้องถิ่นก็มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับผู้นำศาสนาซึ่งมักรู้จักคนในท้องถิ่น จึงเป็นเรื่องปกติที่คนจะไม่ขโมยทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
ที่สำคัญคือเราต้องทำให้คนในท้องถิ่นห่างไกลรู้สึกอยากอ่านหนังสือ จริงๆ คนในชนบทมีความต้องการอ่านมากกว่าในเมือง เพราะคนในเมืองมีสิ่งอื่นดึงดูดความสนใจ แต่ก็ต้องพยายามหาหนังสือตามความชอบของคนในท้องถิ่นก่อน เรามีวันการอ่านอาทิตย์ละครั้ง ให้อาสาสมัครมาเล่าเรื่องพร้อมทำท่าประกอบ ให้นักเขียนที่มีชื่อเสียงมาพูดคุย" ยี เอ็ต ทู กล่าวด้วยรอยยิ้ม
ถึงแม้ว่าวันนี้ทุกอย่างที่ทำจะยังอยู่ในระหว่างเพิ่งก้าวเดิน แต่ยี เอ็ต ทู มั่นใจมากว่าเมียนมาร์มาถูกทางแล้ว อย่างน้อยการส่งเสริมการอ่านก็เริ่มจริงจังมากขึ้น และมีความพยายามสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นด้วยตัวเอง
"เมื่อมีการนับ 1 ก็จะมีการนับต่อไปเรื่อยๆ วันหนึ่งก็จะถึง 100 ได้แน่ๆ"
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
ประเทศพม่ามั่นใจ เขาชอบอ่านหนังสือ
คงไม่มีใครปฏิเสธถึงความสำคัญของ "การอ่าน" เพราะไม่ว่าโลกจะหมุนเร็วมากแค่ไหน วิทยาการล้ำหน้าเพียงใด การอ่านก็ยังคงความสำคัญในฐานะของปัจจัยสำคัญที่ช่วยพัฒนาความคิด ความรู้ รวมถึงให้ความสุขความบันเทิง
เมียนมาร์ ประเทศเพื่อนบ้านของไทยเองก็เห็นความสำคัญของการอ่านไม่แพ้ใคร ความพยายามที่จะปลูกฝังการอ่านให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นอนาคตของประเทศอย่างเด็กและเยาวชนจึงเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และปัจจุบันก็เริ่มเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
โดยหลังจากเปิดประเทศมากขึ้น เมียนมาร์ก็มีโครงการต่างๆ ที่สนับสนุนการอ่านขึ้นมาไม่น้อย งาน อิระวดี บุ๊คแฟร์ ที่เพิ่งผ่านไปก็ได้รับการกล่าวขวัญถึงในระดับนานาชาติ ถึงแม้ว่าเสรีภาพทางการพิมพ์หรือการเซ็นเซอร์ทางการเขียนจะยังคงปรากฏอยู่ก็ตาม
และ "ห้องสมุด" ก็เป็น "อนาคตทางการอ่าน" ที่ถูกวางไว้เป็นนโยบายสำคัญและกำลังกระทำอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของเอกชน
"ยี เท็ต อู" นักวิชาการชาวเมียนมาร์เผยในการประชุม Thailand Conference on Reading 2013 ว่าห้องสมุดขนาดเล็กที่ดำเนินการโดยเอกชนจะเป็นโมเดลสำคัญที่จะทำให้การอ่านของพม่าฟื้นคืนมาอีกครั้ง
"การอ่านเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ชาวเมียนมาร์ชื่นชอบตั้งแต่ยุคการปกครองแบบราชาธิปไตย แม้กระทั่งในยุคอาณานิคมก็มีการจัดตั้งหอสมุด ซึ่งยุคนั้นเป็นที่ที่คนมาสนทนาเกี่ยวกับข่าวสารและแลกเปลี่ยนความเห็นต่างๆ แต่ในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพยายามไม่ให้มีที่สาธารณะที่คนจะมาพูดคุยกันเพื่อป้องกันการจลาจลทางการเมือง ห้องสมุดก็ไม่ได้รับการยกเว้น รัฐบาลต่อๆ มาก็ไม่สนใจห้องสมุด อย่างหอสมุดแห่งชาติก็ย้ายไปเรื่อยๆ คนก็ไม่รู้ว่าตอนนี้อยู่ที่ไหนมีบริการอะไรบ้าง
"ตอนนี้ตามสถิติเมียนมาร์มีห้องสมุดสาธารณะกว่า 50,000 แห่ง แต่มีไม่กี่แห่งที่ใช้งานได้จริงๆ และห้องสมุดส่วนใหญ่ก็ยืมหนังสือออกไปไม่ได้ด้วย หนังสือเองก็อยู่ในกล่อง เหตุผลสำคัญคือผู้ดำเนินการขาดความเข้าใจหรือความชำนาญการในการจัดแหล่งข้อมูลของประชาชนในท้องถิ่น บรรณารักษ์เองก็ไม่ได้รับการอบรมเรื่องห้องสมุดมากพอ ห้องสมุดส่วนใหญ่ลดการซื้อหนังสือเพราะขาดเงินทุน ซึ่งหนังสือพม่าค่อนข้างแพงคือประมาณ 5 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่หนังสือภาษาอังกฤษราคา 6 เหรียญสหรัฐ เมื่อประกอบกับกังวลว่าหนังสือจะพังหรือหาย เด็กๆ เลยไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ห้องสมุดมากนัก เด็กๆ ระดับรากหญ้าเลยขาดโอกาสที่จะเรียนรู้นอกห้องเรียน
อย่างไรก็ตาม นอกจากห้องสมุดของรัฐบาลแล้ว ยังมีห้องสมุดเอกชนที่ดำเนินการโดยสถานทูตซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่ดี แต่ไม่ได้เปิดให้ทุกคน ต้องจ่ายค่าสมาชิกซึ่งค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจของเมียนมาร์ อย่างบริติชเคาน์ซิลเรียกเก็บ 25,000 จ๊าด หรือ 35 เหรียญสหรัฐต่อปี ส่วนสมาชิกห้องสมุดอเมริกันก็ต้องจบมัธยมปลายถึงจะใช้บริการได้
ประชาชนเมียนมาร์โดยเฉพาะเยาวชนจึงมีโอกาสน้อยในการเข้าถึงห้องสมุดสาธารณะ ส่วนร้านเช่าหนังสือก็มีราคาแพง และมักมีแต่การ์ตูน นิยาย นิตยสารรายสัปดาห์ไว้บริการ หนังสือดีๆ หายาก เวลาเลยถูกใช้ไปอย่างเปล่าประโยชน์
ปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบมากต่อสังคม ข้อจำกัดมากมายทำให้ประชาชนหยุดไปห้องสมุด หนังสือที่แพงก็ทำให้หยุดซื้อ เมื่อไม่อ่านหนังสือ การพัฒนาสังคมก็มีปัญหาตามมาและทรัพยากรมนุษย์ก็จะสูญเปล่าเช่นกัน การขาดความรู้จะนำไปสู่ความตกต่ำด้านศีลธรรมจรรยาและการคอร์รัปชั่น" ยี เท็ต อู เปิดเผย
ห้องสมุดขนาดเล็ก และห้องสมุดเคลื่อนที่จึงเป็นกลยุทธ์ที่ภาคเอกชนวางไว้สำหรับอนาคตของเมียนมาร์
"ห้องสมุดขนาดเล็กและห้องสมุดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากเอกชนและการทำงานแบบอาสาสมัคร ที่ตั้งห้องสมุดเป็นเรื่องสำคัญมากในเมียนมาร์เพราะการคมนาคมยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือห้องสมุดธาราพาร์ ซึ่งประสบความสำเร็จจากการนำจุดอ่อนของห้องสมุดรูปแบบอื่นๆ มาวิเคราะห์ เลือกเปิดในที่ที่เยาวชนชอบไป ค่าสมาชิกราคาถูก หนังสือได้รับจากการบริจาคจากศูนย์อเมริกัน มูลนิธิเอเชีย และมูลนิธิอนุรักษ์หนังสือเมียนมาร์ และกลายเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในโมเดลของห้องสมุดขนาดเล็กที่กำลังขยายตัว"
ส่วนระบบห้องสมุดเคลื่อนที่ซึ่งอิงกับผู้นำทางศาสนานั้น ก็เป็นโมเดลที่ยี เท็ต อู มองว่าเหมาะกับเมียนมาร์อย่างยิ่ง
"ปัญหาสำคัญคือเงินทุนที่จำกัด เราไม่มีทุนซื้อหนังสือมากนัก ในขณะที่ทะเบียนราษฎรของเมียนมาร์ก็ยังไม่เป็นระบบ ถ้าเกิดการยืมจะตามตัวยาก เราจึงใช้วิธีโยงกับศาสนาเพราะประชากรส่วนใหญ่เคร่งครัดในศาสนามาก คนในท้องถิ่นก็มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับผู้นำศาสนาซึ่งมักรู้จักคนในท้องถิ่น จึงเป็นเรื่องปกติที่คนจะไม่ขโมยทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
ที่สำคัญคือเราต้องทำให้คนในท้องถิ่นห่างไกลรู้สึกอยากอ่านหนังสือ จริงๆ คนในชนบทมีความต้องการอ่านมากกว่าในเมือง เพราะคนในเมืองมีสิ่งอื่นดึงดูดความสนใจ แต่ก็ต้องพยายามหาหนังสือตามความชอบของคนในท้องถิ่นก่อน เรามีวันการอ่านอาทิตย์ละครั้ง ให้อาสาสมัครมาเล่าเรื่องพร้อมทำท่าประกอบ ให้นักเขียนที่มีชื่อเสียงมาพูดคุย" ยี เอ็ต ทู กล่าวด้วยรอยยิ้ม
ถึงแม้ว่าวันนี้ทุกอย่างที่ทำจะยังอยู่ในระหว่างเพิ่งก้าวเดิน แต่ยี เอ็ต ทู มั่นใจมากว่าเมียนมาร์มาถูกทางแล้ว อย่างน้อยการส่งเสริมการอ่านก็เริ่มจริงจังมากขึ้น และมีความพยายามสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นด้วยตัวเอง
"เมื่อมีการนับ 1 ก็จะมีการนับต่อไปเรื่อยๆ วันหนึ่งก็จะถึง 100 ได้แน่ๆ"
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
การประชุมครั้งที่ห้าของคณะกรรมการอนุภูมิภาคในประเด็นหมอกควันมลพิษในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (MSC Mekong) เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม โดยมีรัฐมนตรีและตัวแทนผู้รับผิดชอบด้านที่ดินป่าไม้และหมอกควันจากประเทศกัมพูชา, ลาว, พม่า,...by dogTech
-
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส แจ้งว่า เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ...by dogTech
-
พระนครศรีอยุธยา- ที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำบุญใหญ่หลังปรับปรุงกองบังคับการฯ รองรับ AEC วันนี้ (10 ก.ย.) ที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พล.ต.ต.เสริมคิด สิทธิชัยกานต์...by Editor
-
Posted byEditor N AEC Tourism Thai-Jun 11, 2014 1. นาซีโกเร็ง อาหารประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียที่ทำจากข้าวและเครื่องเทศต่างๆ เช่น กระเทียม, พริก และผักชี ถือว่าเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของอินเดีย...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต